เมืองบัคฮา (Bac Ha) ตั้งอยู่ห่างจากซาปาประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นเมืองเล็กๆที่เงียบสงบโอบล้อมด้วยขุนเขากับทะเลสาบกลางเมือง และยังมีชื่อเสียงโดยเฉพาะในหมู่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจเรื่อง ของชนเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่บริเวณเวียดนามเหนือ ซึ่งยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเองได้เป็นอย่างดี
![]() |
เมืองบัคฮา (Bac Ha) |
ที่เมืองบัคฮานี้ ยังคงคล้ายกับเมืองซาปาเมื่อหลายปีก่อน โดยมีชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ม้ง (Hmong) แต่ชนเผ่าที่มีอิทธิพลมากที่สุด เผ่าไต (Tay) โดยเมืองบัคฮาอยู่ห่างจากเลาไกประมาณ 27 กิโลเมตร อีกทั้งมีชนเผ่ามากมายทั้งไต เย้า ผู้ลาว จีน เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยอีกมากมาย โดยเฉพาะชาวม้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เรื่องการแต่งตัว
" เมืองเลาไกเป็นเมืองหน้าด่านติดกับชายแดนจีน" เพื่อนๆสามารถข้ามด่านไปเดินเล่นที่เมืองจีนได้ แต่คราวนี้เราไม่มีเวลาขนาดนั้น ก็เลยได้แค่ไปเยี่ยมที่ด่านเท่านั้น ฝั่งจีนจะเป็นเมืองเหอกู่ที่สามารถนั่งรถไฟต่อไปได้ถึงคุนหมิง อีกประมาณ 540 กม. แต่ต้องทำวีซ่าก่อน เมืองเลาไกไม่มีสถาปัตยกรรมสวย ๆ หลงเหลืออยู่นักเพราะเป็นเมืองที่โดนจีนเข้ามาทำสงครามยึดครอง โดยเฉพาะในช่วงปี 1979 ที่จีนบุกเข้ามาปราบเสียจนราบคาบ แต่ต่อมาเมื่อขับจีนออกไปได้แล้ว รัฐบาลเวียดนามในขณะนั้นก็ไม่ได้คิดที่จะอนุรักษ์ความเป็นศิลปะเวียดนามเอาไว้ สิ่งก่อสร้างที่เลาไกจึงดูเหมือนกล่องคอนกรีตสี่เหลี่ยม กับเป็นเมืองที่มีต้นไม้น้อยมากเมื่อเทียบกับหลายๆ เมืองในเวียดนาม แต่ที่เลาไกนี่เราไม่ได้แวะเที่ยวอะไร เพื่อนๆใช้เป็นแค่ทางผ่านเพื่อไปบักฮา กับซาปาเท่านั้น
เมืองบัคฮาอยู่ห่างจากเลาไกแค่ประมาณ 27 กม. เป็นเมืองเล็ก ๆ แต่ความโด่งดังของที่นี่กลับไม่แพ้เมืองใหญ่ ๆ ยิ่งถ้าเป็นคนที่สนใจเรื่องชนเผ่า ผ้าทอ หรือวิถีชีวิตที่เรียบง่ายดูท่าจะไม่น่าพลาดเมืองบักฮา ที่นี่มีชนเผ่ามากมายสาธยายไม่หมด ทั้งไต เย้า ผู้ลาว จีน เวียดนาม ไลชิ เลอเหรอ ปกาเก่อญอ ถู่ลาว และชนกลุ่มน้อยอีกมากมาย ที่สำคัญที่สุดและเป็นสีสันจนเมืองบัคฮาขึ้นชื่อไปทั่วโลกคือ "ม้ง" ด้วยสีสันการแต่งกายที่ยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเองได้เป็นอย่างดีจนได้รับสมญานามว่า ดินแดนแห่งดอกไม้หลากสี หรือ" The Flower Hmong of Sapa " ไม่เชื่อก็ลองชมภาพดูละกันว่าสีสันพวกเค้าสวยงามขนาดไหน
![]() |
ชาวม้ง (credit by http://photoindeed.blogspot.com/) |
![]() |
บรรยากาศในตลาด (credit by https://www.remindmelatertraveling.com) |
Comments
Post a Comment