ศาสนาในเวียดนาม

     ประเทศเวียดนามได้รับการยกย่องว่าเป็น" มังกรน้อย (Little Dragon)"  เคียงคู่กีบจีนแผ่นดินใหญ่ โดยคำว่า "เวียด" ก็ยังมาจากภาษาจีน แปลว่า"ไกลออกไป  คำว่า "นาม" แปลว่า" ทิศใต้" ความหมายของเวียดนาม คือ ประเทศที่ไกลออกไปทางทิศใต้ของประเทศจีน.ซึ่งก็ไม่แปลกที่ประเทศเวียดนามจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศจีนมากพอสมควรเพื่อนๆ หลายคนสงสัยไหมว่า คนเวียดนามนับถือศาสนาอะไรกันน่ะ  วันนี้ Vietnamese Fan จะมาเล่าเรื่อง ศาสนาในเวียดนาม ไป ติดตามกันเลยค่ะ 

    ประชากรในประเทศเวียดนามมีถึง  90 ล้านคนโดยประมาณ โดยมีพิ้นฐานการนับถือศาสนาพุทธถึง 11 ล้านคน  (12.2%) ศาสนาคริสต์ 7.6 ล้านคน (8.3%) ลัทธิเฉาได 4.4  ล้านคน (4.8%) ลัทธิฮหว่าหาว  1.3  ล้านคน (1.4%) และศาสนาอื่นๆ(0.1%) 

                                                                   

ศาสนาพุทธในเวียดนาม 

 ชาวเวียดนามนับถือศาสนาพุทธมาตั้งแต่ดั้งเดิม คล้ายกับประเทศไทยของเรา ดังนัั้นจึงไม่แปลกที่ชาวเวียดนามจะมีพื้นฐานจิตใจที่อ่อนโยน อีกทั้งยังมีลัทธิอื่นๆ ที่ชาวเวียดนามให้ความเคารพ เช่น ลัทธฺขงจื้อ ลัทธิเต๋า และ นิกายคอทอลิก และด้วยความที่"ประเทศเวียดนามไม่มีศาสนาประจำชาติ"  ซึ่งในรัฐธรรมนูญก็ได้มีการบัญญัติไว้ว่า  ให้ประชาชนมีเสรีภาพมนการนับถือศาสนา แต่เมื่อจีนเข้ามาปกครองประเทศเวียดนามจึงมีการ นำลัทธิของจื้อเข้ามาเผยแพร่ รวมทั้งลัทธิการบูชาวิญญาณบรรพบุรุษตามธรรมเนียมจีน  จึงทำให้ชาวเวียดนามบางส่วนนิยมเซ่นไหว้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษ


    ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 อาณาเขต คือ ตังเกี๋ย (Tong king) ได้แก่ แถบลุ่มแม่น้ำแดง อานัม (Annam) ได้แก่ แผ่นดินแคบยาวตามทอดชายฝั่งทะเล ที่อยู่ตอนกลางระหว่างตังเกี๋ยกับโคชินจีน และโคชินจีน (Cochin China) ได้แก่ แผ่นดินส่วนล่างทั้งหมด ปัจจุบันนี้ อานัมภาคใต้ เป็นอาณาจักรจัมปา ส่วนโคชินจีนเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฟูนัน ซึ่งมี"ศูนย์กลางอยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน" อาณาจักรอานัม มีอารยธรรมสืบสายมาจากจีน ส่วนจัมปากับฟูนันมีอารยธรรมที่สืบสายมาจากอินเดีย

     อาณาจักรอานัมมีอายุเกือบ3 พันปี แต่ไม่มีหลักฐานชัดเจน จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 300 ได้จัดตั้งเป็นอาณาจักรเวียดนาม (เวียดนาม แปลว่า อาณาจักรฝ่ายทักษิณ) ต่อมาอาณาจักรเวียดนาม ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีน ใน พ.ศ. 433 เป็นเวลานานกว่า1,000 ปี ในระยะนี้ เรียกประเทศเวียดนามว่า "อานัม "แปลว่า "ปักษ์ใต้ที่สงบ "จากการตกเป็นเมืองขึ้นของจีน จึงได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนแทบทั้งสิ้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 1482 เวียดนามได้ทำการกอบกู้เอกราชจากจีนได้สำเร็จ ได้ประกาศอิสรภาพจากจีน ต่อมาอาณาจักรเวียดนามได้แผ่อำนาจมาทางใต้สามารถเข้ายึดครองนครจัมปาได้ในที่สุด

     พระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศเวียดนาม เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7 ในขณะนั้น เวียดนามตกอยู่ในอำนาจของจีน พระพุทธศาสนาที่เข้ามาสู่เวียดนามในยุคแรกนั้น เป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยสันนิษฐานว่าท่านเมียวโป (Meou-Po) ได้เดินทางมาจากประเทศจีนเข้ามาเผยแผ่ เวียดนามจึงได้รับเอาศาสนาจากจีน รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนา ก็เป็นภาษาจีนเหมือนกัน สันนิษฐานกันว่า ได้มีพระภิกษุชาวอินเดีย คือ พระมหาชีวก พระกัลยาณรุจิ และ พระถังเซงโฮย ได้เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนา ในยุคเดียวกับท่านเมียวโป แต่การเผยแผ่พุทธศาสนาก็ไม่เจริญนัก เพราะกษัตริย์จีนในขณะนั้นนับถือศาสนาขงจื้อ ไม่ส่งเสริมพระพุทธศาสนา 

เจดีย์ 

   ต่อมา ขอเล่าถึงยุคที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองประเทศเวียดนาม พระพุทธศาสนา เสื่อมโทรมลงมาก เพราะถูกเบียดเบียนจากพวกฝรั่งเศส ซึ่งนับถือศาสนาคริสต์ เช่นการห้ามสร้างวัด เว้นแต่ได้รับอนุญาต จำกัดสิทธิพระสงฆ์ที่จะรับถวายสิ่งของ และจำนวนพระภิกษุ เป็นต้น 

     ถึงแม้ชาวพุทธจะถูกจำกัดสิทธิ โดยไม่ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงเลย หากจะเป็นได้ต้องนับถือศาสนาคริสต์เสียก่อน และ มีการสร้างเงื่อนไข คือ ต้องโอนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหาร และไม่มีสิทธิ ไม่มีเสียงอะไรในแผ่นดิน ส่งผลให้ ชาวเวียดนามได้พยายามรวมตัวกันเพื่อลุกขึ้นสู้กอบกู้เอกราช แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงไปเป็นระยะ ๆ ในระยะนี้เองพระพุทธศาสนา ซึ่งมีท่าทีว่าจะสูญสิ้น ก็ได้การ ฟื้นฟูกันอีกครั้ง ในปี พ.ศ.2475 โดยได้มีการจัดตั้งสมาคมพุทธศาสนาศึกษาแห่งโคชินจีน (Cochinchina Buddhist study society) ขึ้นที่เมืองไซง่อน และได้มีการตั้งสมาคมทางพุทธศาสนาขึ้นอีกที่เมืองเว้ (อานัม) และที่เมืองฮานอย โดยสมาคม มุ่งเน้นด้านการศึกษา และสังคมสงเคราะห์ ปฏิรูปพระวินัยของสงฆ์ และส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ได้ศึกษาพุทธศาสนาแบบใหม่ ได้มีการจัดพิมพ์วารสารของพระพุทธศาสนาและแปลคัมภีร์ต่าง ๆ ทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท

   การฟื้นฟูพุทธศาสนาในครั้งนั้น นับว่าประสบความสำเร็จ เนื่องจากสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของคนระดับปัญญาชน ที่เคยประสบความผิดหวังมาจากวัตถุนิยม ทางตะวันตก โดยมาสนับสนุนการฟื้นฟูพุทธศาสนาในครั้งนั้นอย่างมากมาย แต่การเผยแผ่ฟื้นฟูพุทธศาสนาก็เป็นอันหยุดชะงัก ลงอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

 มาจนถึงในปัจจุบัน วัดหรือที่ภาษาเวียดนามเรียกว่า "จั่ว" หรือ "ตื้อ" ได้กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของชนชั้นทุกระดับ เป็นที่พึ่งของชุมชน และยังเป็นสถานที่ชุมนุมของชาวพุทธในการพบปะปรึกษาหารือกิจกรรมต่างๆ ทั้งในด้านศาสนาและการเมือง โดยมีพระสงฆ์เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน


ข้อมูลอ้างอิง

https://sites.google.com/site/weiydnamhiphf/home/sasna-ni-weiydnam
https://kalyanamitra.org/th/
https://th.wikipedia.org/wiki/




Comments